หลังจากเคยลงเรื่องการอ่านตัวอักษรภาษารัสเซีย และการออกเสียงคำเมื่อมีตัวเน้นУдарение ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องจำให้ได้อันดับแรกๆ เนื่องจากถ้ายังจำสองเรื่องนั้นไม่ได้ การเรียนสเต็ปต่อไปจะเริ่มมีปัญหา จะเกิดคำถามประเภท อ่านไม่ออกเลย งงจัง ทำไมอันนั้นอ่านแบบนั้น อันนั้นอ่านแบบนี้ ตัวอักษรตัวเดียวกันทำไมอ่านไม่เหมือนกันอะ? เพราะเรื่องของไวยากรณ์มันจะเริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 

คำนามในภาษารัสเซีย

คำนามในภาษารัสเซีย เรียกว่า Имя существительное (อีเมีย สุเชสท์วิเทลน่ะเย่) คำนามก็คือคำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ ฟังดูไม่ยาก แต่มันจะเริ่มยากเมื่อคำนามนั้นดันมีเพศเป็นของตัวเองขึ้นมา

เพศของคำนาม

คำนามทุกคำในภาษารัสเซียจะมีเพศกำกับ ประเภทของคำนามในภาษารัสเซียจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน การแบ่งว่าคำไหนเป็นเพศอะไรก็จะดูที่ตัวลงท้ายของคำนั้น ซึ่งตัวลงท้ายนี้ ในภาษารัสเซียจะเรียกว่า окончание (อักคันชานิเย่)

1. мужской род (มูชสโกย โรด) หมายถึง เพศชาย – เป็นคำที่ลงท้ายด้วย พยัญชนะ, -й, -ь

2. женский род (เชนสกีย โรด) หมายถึง เพศหญิง – เป็นคำที่ลงท้ายด้วย -а, -я, -ия, -ь

3. средний род (สเรดนีย โรด) หมายถึง เพศกลาง – เป็นคำที่ลงท้ายด้วย -о, -е, -ие, -мя

     ตัวอย่างคำศัพท์

คำนามเพศชาย

Максим (มัคซีม) เป็นชื่อของผู้ชาย ชื่อมัคซีม

дом (โดม) บ้าน

словарь (สลาว่าร์) พจนานุกรม

трамвай (ทรัมวายึย) รถราง

 

คำนามเพศหญิง

Наташа (น่ะตาช่ะ) เป็นชื่อของผู้หญิง ชื่อนาตาชา

книга (นีกะ) หนังสือ

тетрадь (เทียทราด) สมุด

лекция (เล๊กซิยา) การบรรยาย

деревня (เดเรียฟน่ะ) ชนบท

 

คำนามเพศกลาง

письмо (ปีสโม่) จดหมาย

море (โมเรีย) ทะเล

собрание (บรานิเย่) การประชุม

имя (อีเมีย) ชื่อ

 

 

แน่นอนว่าขึ้นชื่อว่าไวยากรณ์ มักจะมีข้อยกเว้นตามมา ซึ่งเราจะเป็นต้องท่องข้อยกเว้นเหล่านี้ให้ได้ เพราะมันไม่เป็นไปตามกฏนั่นเอง

1. ทั้งเพศชายและเพศหญิง สามารถลงท้ายด้วย ได้เหมือนกัน ดังนั้นคำที่ลงท้ายด้วย จึงจำเป็นต้องพยายามจำให้ได้ด้วยตัวเองว่าคำไหนเป็นเพศอะไรกันแน่ (ตัวอย่างด้านบน)

2. คำนามที่ใช้เรียกเพศชายบางตัวมีตัวลงท้ายด้วย -а, -я จะจัดเป็นคำนามเพศชาย เพราะใช้เรียกผู้ชาย เช่น

папа (ปาป่ะ) พ่อ

дедушка (เดดูชก่ะ) ปู่, ตา

мужчина (มุชชีน่ะ) สุภาพบุรุษ

дядя (ดาด่ะ) ลุง, อา

3. สำคัญมากอันนี้ อย่าลืมว่าคำนามในบทนี้ใช้ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคเท่านั้น เป็นการกที่ 1 หรือในภาษารัสเซียเรียกว่า именительный падеж (อิเมนีเทลนึย ปะเดช) หมายถึงคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค หากต้องการใช้คำนามนั้นเป็นกรรมของประโยค คำนามนั้นๆก็จะเกิดการทรานสฟอร์มเม่อ ทำให้มีหน้าตาแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย และจะไม่จัดอยู่ในการกที่1 จะกลายเป็นการกอื่นที่จะได้เรียนกันต่อไป

ในการเรียนภาษา ส่วนตัวค่อนข้างเชื่อว่าสิ่งสำคัญคือพื้นฐานและการนำไปใช้ การนำไปใช้สำคัญเพราะหากเรียนไปแล้วไม่ได้ใช้ หรือไม่รู้ว่าจะใช้อย่างไร จำไปงั้นๆเอาไว้สอบผ่านๆละก็จบ มันก็ไม่เกิดประโยชน์ วันนึงก็จะลืมไปในที่สุด เสียเวลาเรียน ส่วนพื้นฐานนั้นสำคัญเพราะถ้าพื้นฐานไม่แน่น จำพื้นฐานไม่ได้ การเรียนในlevelต่อๆไป จากสนุกกับการเรียน ก็อาจจะกลายเป็นฝันร้ายได้ในการเรียนไวยากรณ์ เพราะเรื่องต่างๆมักจะเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดเซอร์ไพรส์บ่อยๆ เช่น เห้ย ตรงนี้อะไรวะ? โอ้ย นี่พูดถึงอะไรเนี่ย? เป็นต้น

 

edited photo from: https://www.flickr.com

Advertisement