การกในภาษารัสเซียคือการที่คำนามถูกผันโดยการเปลี่ยนคำลงท้ายของคำนามนั้น ทำไมจึงต้องมีการผันคำนามในภาษารัสเซีย? การผันคำนามในภาษารัสเซียเพื่อให้เราทราบว่าคำนามนั้นทำหน้าที่อะไรในประโยคนั่นเอง ซึ่งการเรียนการกเป็นหัวข้อที่ค่อนข้างยาก หากเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงเหมือนการเรียน Tenses นั่นแหละ

การกในภาษารัสเซียถูกเรียกสั้นๆในภาษาอังกฤษว่า “case” ในภาษารัสเซียจะเรียกว่า падеж จะมีทั้งหมด 6 การกด้วยกัน ดังนี้

1. именительный падеж (Nominative Case) ใช้ตอบคำถาม кто?  (ใคร?) และ что? (อะไร?) การกนี้เป็นคำนามที่ยังไม่ได้ผันใดๆ เป็นคำนามที่เปิดเจอได้ในพจนานุกรม

Студент читает   นักเรียนกำลังอ่าน
นักเรียน = cтудент

2. Родительный падеж  (Genitive Case) ใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของของคำนามนั้น ตอบคำถามว่า кого? (ของใคร?) чего? (ของอะไร?)

берег реки   ชายฝั่งของแม่น้ำ
แม่น้ำ = (река –> реки)
Книга брата หนังสือของพี่ชาย
พี่ชาย = (брат –> брата)

3. Дательный падеж (Dative Case) ใช้ในกรณีที่มีการให้หรือส่งมอบของให้แก่ใคร หรือแก่อะไร ตอบคำถาม кому? (แก่ผู้ใด?) чему? (แก่อะไร?)

Я иду к врачу   ฉันไปหาหมอ
Я даю это другу   ฉันให้มันแก่เพื่อน
หมอ = (врач –> врачу)
เพื่อน = (друг –> другу)

4. Винительный падеж (Accusative Case) ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ใช้ตอบคำถาม кого? (ใคร?) что? (อะไร?)

Я читаю газету   ฉันอ่านหนังสือพิมพ์
Я встретил друга   ฉันพบเพื่อน
หนังสือพิมพ์ = (газета –> газету)
เพื่อน = (друг –> друга)

5. Тволительный падеж (Instrumental Case) เพื่อบอกว่าการกระทำในประโยคนี้ใช้สิ่งของใดกระทำ ตอบคำถาม чем? (โดยอะไร?)

Я пишу карандашом   ฉันเขียนโดยดินสอ
ดินสอ = (карандаш –> карандашом)

6. Предложный падеж (Prepositional Case) ใช้บอกสถานที่ที่กระทำสิ่งนั้นๆ หรือ สิ่งที่บุคคลพูดหรือคิด การกนี้ใช้กับคำบุพบทเท่านั้น

Она мечтает о лете   เธอฝันถีงฤดูร้อน
Цветы стоят на столе   ดอกไม้อยู่บนโต๊ะ
ฤดูร้อน = (лето –> лете)
โต๊ะ = (стол –> столе)
Advertisement