ในภาษารัสเซีย การกระทำอย่างหนึ่งจะมีกริยาแสดงกาากระทำนั้น 2 ตัว โดยทั้งสองตัวนี้จะมีความหมายในพจนานุกรมเหมือนกัน แต่ความหมายทางไวยากรณ์จะต่างกัน ทำให้ลักษณะของการกระทำที่แสดงต่างกันไปด้วย

กริยาไม่สมบูรณ์ หรือ Imperfective aspect หรือ Несовершенный вид (нсв)

หลักการใช้

  1. ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นแต่ไม่ต้องการเน้นว่าการกระทำนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์หรือไม่ ไม่ต้องการเน้นถึงผลลัพธ์ของการกระทำ
  2. ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นประจำสม่ำเสมอ เกิดขึ้นซ้ำๆ
  3. ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นและดำเนินต่อไปเป็นระยะเวลานาน

Adv. พบบ่อยที่ใช้กับ กริยาไม่สมบูรณ์ (нсв) เช่น

обычно – ปกติแล้ว, ตามปกติ

всегда – เสมอๆ, เป็นประจำ

часто – บ่อยๆ

иногда – บางครั้ง

редко – ไม่บ่อยครั้ง

долго – นาน

весь день – ตลอดทั้งวัน

целый день – ตลอดทั้งวัน

каждый день – ทุกวัน

กริยาสมบูรณ์ หรือ Perfective aspect หรือ Совершенный вид (св)

หลักการใช้

  1. ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นและเสร็จสิ้นสมบูรณ์ หรือต้องการเน้นถึงผลลัพธ์ของการกระทำ
  2. ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นและเสร็จสิ้นสมบูรณ์เพียงครั้งเดียว
  3. ใช้เมื่อต้องการกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครู่เดียว

Adv. ที่ใช้บ่อยกับกริยาสมบูรณ์ (св) เช่น

уже – แล้ว

наконец – ในที่สุด

сразу – ทันที

однажды – ครั้งหนึ่ง

การสังเกตกริยาไม่สมบูรณ์และกริยาสมบูรณ์

  1. กริยาสมบูรณ์ส่วนใหญ่สร้างจากกริยาไม่สมบูรณ์โดยการเติม prefix (прификсы) เช่น
    • про-
    • по-
    • вы-
    • при-
    • с-
    • у-
    • на-
  2. กริยาไม่สมบูรณ์ส่วนใหญ่เป็นกริยากลุ่มที่ 1 ส่วนกริยาสมบูรณ์ที่เป็นคู่กันจะเป็นกริยากลุ่มที่ 2
  3. กริยาไม่สมบูรณ์ลงท้ายด้วย suffix (суффиксы) -ыва- เช่น
    • рассквзывать – расквать
    • показывать – показать
  4. กริยาสมบูรณ์จะลงท้ายด้วย suffix (суффиксы) -ну- เช่น
    • отдыхать – отдохнуть
  5. ในบางกรณีกริยาไม่สมบูรณ์และกริยาสมบูรณ์ที่เป็นคู่กันมีรากคำที่แตกต่างกัน เช่น
    • говорить – сказать
    • брать – взять

 

Advertisement