คำกริยาในภาษารัสเซียหนึ่งคำสามารถแตกแยกย่อยออกเป็นหลายรูปเนื่องจากการผันตามกฏต่างๆ โดยนอกจากจะผันตามtense เพศ และพจน์แล้ว คำกริยายังต้องผันตาม mood อีกด้วย หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะไม่ยิ่งเยอะกันเข้าไปใหญ่เหรอ? คนเรามีตั้งหลายอารมณ์ ภาษาอังกฤษยังไม่ผันเยอะเท่านี้เลย… อย่าเพิ่งตกใจไปคะ เพราะถ้าทำความเข้าใจดูแล้วมันไม่ได้ยากขนาดนั้น

emotions_face

อันที่จริง mood ในไวยากรณ์ ไม่ได้หมายถึงสภาพอารมณ์ร้อยแปดของมนุษย์ตามที่เราเข้าใจกันหรอกค่ะ moodทางไวยากรณ์ ในภาษาไทยจะเรียกว่า “มาลา” ซึ่งหมายถึง คำกริยาที่แสดงทัศนคติของผู้พูดต่อการกระทำนั้น โดยในภาษารัสเซียจะแบ่ง mood ออกเป็น 2 ประเภทเท่านั้น ดังนี้

Subjunctive mood

คำกริยาใน subjunctive mood แสดงถึง ความต้องการที่อยากได้บางสิ่ง หรืออยากให้เกิดบางอย่างขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เรียกง่ายๆว่าmood นี้ก็คือ ประโยคเงื่อนไขที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ทำให้เรื่องที่ปรารถนาไม่สามารถเป็นจริงได้ คำกริยาที่แสดงถึง mood นี้จะเรียกว่า subjunctive verb

ตัวอย่างเช่น

я хотела бы чаю, но у меня нет чашки.

ฉันอยากดื่มชานะ แต่ไม่มีแก้วน่ะสิ

การเปลี่ยนรูป: subjunctive verb จะเปลี่ยนรูปตามเพศและพจน์ของประธาน

ข้อควรจำ

คำกริยาใน subjunctive mood จะอยู่ในรูปอดีตเสมอ

Imperative mood

คำกริยาใน imperative mood แสดงถึง คำสั่ง, การขอร้อง หรือการแนะนำ คำกริยาในmoodนี้จะเรียกว่า imperative verb

ตัวอย่างเช่น

Не ходи туда!

อย่าไปตรงนั้นน่ะ!

การทำความเข้าใจมาลาหรือ mood ในภาษารัสเซีย ไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งที่ยากคือจะทำอย่างไรให้จำการผันคำกริยาต่างๆได้ จะว่ามันมีกฏการผันไหม? มันก็มีอยู่นะ แต่หลายๆครั้งที่คำศัพท์หลายตัวออกมาไม่เป็นไปตามกฏซะงั้น ก็เลยคิดว่าไม่เขียนออกมาจะดีกว่ามั้ง เพราะอย่างไรก็ต้องเปิดตารางมานั่งท่องอยู่ดี ถ้าเปรียบกับภาษาอังกฤษ การผันคำกริยาในภาษารัสเซียคงเหมือนการผันกริยาสามช่อง ที่เราก็รู้ว่ามันคือการเติม suffix -ed แต่กฏนี้มันก็ใช้ไม่ได้กับทุกคำอยู่ดี ดังนั้นการขยันจำ ขยันท่อง คงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนภาษา

Advertisement