คำกริยาในภาษารัสเซีย ใช้คำว่า глагол (กลาโกล) หลักการใช้คำกริยาขึ้นอยู่กับ บุรุษสรรพนาม เพศและพจน์ของคำที่จะนำมาใช้กับกริยา ดังนั้นคำกริยาจึงจำเป็นต้องมี Conjugation หรือการผัน ซึ่งการผันนี่เอง ที่ทำให้คำกริยาคำเดียวแตกออกมาเป็นสิบๆคำ
Conjugation ในภาษารัสเซียมี 2 รูปแบบ ดังนี้
1st conjugation
หมายถึง การผันรูปแบบที่ 1 เป็นการผันที่ทำให้คำกริยานั้นลงท้ายด้วย “е” ในภาษารัสเซียเรียกว่า Глаголы первого спряжения (กลาโกลลือ เปรวาว่ะ สปราเชนิยา)
คำกริยาที่ผันตามแบบที่ 1
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ать และ -ять
2nd conjugation
หมายถึง การผันรูปแบบที่ 2 เป็นการผันที่ทำให้กริยานั้นลงท้ายด้วย “и” ในภาษารัสเซียเรียกว่า Глаголы второго спряжения (กลาโกลลือ วทะโรว่ะ สปราเชนิยา)
คำกริยาที่ผันตามแบบที่ 2
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ить, -еть
ข้อควรจำ
Present tense และ Future tense คำกริยาผันตามบุรุษสรรพนาม
Past tense คำกริยาผันตามเพศและพจน์
นอกจากนั้น คำกริยาในภาษารัสเซียยังมีการใช้ที่แตกต่างกันไป mood อีกด้วย หากยังไหวก็อ่านกันต่อได้ที่ Subjunctive-Imperative mood
และการสิ้นสุดของการกระทำ หรือคำกริยา อ่านได้ที่ Perfective-Imperfective aspect
บทนี้ไม่ได้เขียนตัวอย่างหรือกฏการผันคำกริยาไว้ เพราะคำกริยาในภาษารัสเซียมีการผันที่แตกต่างกันออกไป และหลายคำที่ควรจะผันตามกฏๆหนึ่งกลับผันอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นการเรียนภาษารัสเซียจึงเป็นเรื่องที่น่าท้าทาย เมื่อคำศัพท์หลายๆคำมีการผันตามเพศตามพจน์อยู่ตลอดเวลา เราจะทำอย่างไรให้จำคำเหล่านี้และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
เชื่อว่าทุกภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแรก มีความยากในตัวมันเองทั้งนั้น และวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนภาษาคือ ความอดทนในการอ่าน การท่องจำ